แอนิเมเตอร์
อาชีพใฝ่ฝันของหนุ่มสาวยุคดิจิทัล
ณธัญ ตู้จินดา เด็กหนุ่มผู้หนึ่งที่สนใจด้านคอมพิวเตอร์
และยังชื่นชอบงานด้านกราฟิกดีไซน์ เมื่อต้องสอบเรียน ต่อในระดับมหาวิทยาลัย
มีเพียงที่สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต
เป็นเพียงที่เดียว ที่เปิดสอนในด้านนี้ จึงยอมเบนเข็มจากการเรียนสายวิทยาศาสตร์มาเข้าเรียนที่นี่
เรียนรู้ในสายงานที่รัก ประเดิมรุ่นแรกของสาขา
การเรียนด้านศิลปะจากคนที่เรียนสายวิทย์ฯ มา ณธัญว่าไม่ยากอย่างที่คิด
เพราะจริงๆ ในปี 1 ทางสาขาจะมีการสอนพื้นฐาน ทางศิลปะให้ใหม่หมด
ทุกคนต้องมาเรียนวาดรูป ทฤษฎีสี ฯลฯ ไปพร้อมๆ กัน คนที่ตั้งใจเรียนไม่จำเป็น
ต้องจบด้านศิลปะ มาก็เรียนได้
"แอนิเมชั่นมี 2 แบบคือทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ จริงๆ สนใจและถนัดในงาน 2 มิติ พอเข้ามาเรียนรู้มากขึ้น ได้เห็นงานแอนิเมชั่น เคลื่อนไหว
ทำให้รู้สึกน่าสนใจกว่าภาพนิ่ง เพราะตอบสนองและถ่ายทอดงาน ได้มากกว่าและสนุกกว่า
อาจจะเป็นนิสัยวัยรุ่นที่ชอบอะไรที่มีลูกเล่นด้วย" ณธัญ เล่า
ในระบบการเรียนด้านแอนิเมชั่น อ.สุธีร์ ธนรัช
หัวหน้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต เล่าให้ฟังว่า สาขาวิชานี้เป็นสาขา
ที่ผนวกศิลปะกับคอมพิวเตอร์ (จบแล้วปริญญา ศิลปบัณฑิต หรือ ศป.บ.) ในการเรียนจะมีการปูพื้นฐานด้าน
ศิลปะในตอนปี 1 ให้ เมื่อพื้นฐาน พร้อมก็จะเริ่มจับคอมพิวเตอร์
เรียนการใช้โปรแกรมพื้นฐาน การใช้ฮาร์ดแวร์ แล้วค่อยๆ
เข้าไปในส่วนเนื้อหาของการคิด เช่น ถ้าใช้โปรแกรมตัวนี้จะทำอย่างไรให้เคลื่อนไหว
เรียนการเคลื่อนไหวของคน เวลาเดินเดินอย่างไร เรียนลักษณะ 3
มิติ ปูพื้นฐานให้เด็กรู้จักขึ้นรูปทรง ดินน้ำมัน จัดแต่งให้เคลื่อนไหว ในการเรียน
หากเด็กที่รู้อยู่แล้วก็ไม่ต้องเรียนซ้ำ แต่จะสอนเพิ่มในส่วนที่ยังไม่รู้
จะช่วยไม่ให้เด็กเบื่อ
ในชั่วโมงเรียน จะเป็นเรียนรู้จากทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ลงมือทำงานจริง
เวลาให้คะแนนจะใช้วิธีช่วยกันโหวตเสียงจากเพื่อนๆ
ในห้องว่าจะให้เกรดกับผลงานแต่ละชิ้นอย่างไร
โดยอาจารย์ผู้สอนจะพิจารณาความเหมาะสมประกอบไป ที่สำคัญที่สุดในการเรียนด้านนี้คือ
ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ แรงบันดาลใจ
ที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้กับงานด้านแอนิเมชั่นนี้ อ.สุธีร์ ว่า
จะต้องรู้จักการดูหนัง หัดวิจารณ์ และต้องรู้การแอนิเมท เขียนพล็อตเป็น
แต่งเรื่องเป็น ลำดับเรื่องได้ดี สื่อสารดี
การจัดลำดับภาพต้องรู้ว่าจะใช้ภาพอย่างไร เสียงอย่างไร จึงจะได้ตรงตามวัตถุประสงค์
นอกจากการเรียนรู้จากอาจารย์ในสาขา อ.สุธีร์เล่าว่า ยังมีการเชิญมืออาชีพมาจากบริษัทที่ทำงานด้านนี้มาสอนในลักษณะ
วิทยากรพิเศษเทอมละประมาณ 3 ท่าน โดยวิทยากรจะมาบรรยาย เอาตัวอย่างผลงานมาแสดง
เล่าถึงเทคนิค วิธีการทำงาน กระบวนการต่างๆ เคล็ดลับ ทิปส์ต่างๆ
เหมือนเป็นการจัดเสวนา และจะมีอาจารย์พิเศษสอนประจำในเรื่อง 3 ดี แอนิเมชั่นด้วย
เพราะว่าเป็นที่แรกของไทยที่มีการสอนในด้านแอนิเมชั่น
ต้องมีการใช้เครื่องมือ ใช้เทคโนโลยีในระดับสูง อ.ณัธพัชร์ หลวงพล
อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต และหัวหน้าห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
กล่าวถึงความพร้อมว่า ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์จะใช้ร่วมกันทั้งคณะศิลปกรรม
ซึ่งมีหลายห้องแต่ก็ยังคงไม่เพียงพอ ในการเรียนจึงต้องมี การจัดตารางเวลา
แต่ว่าจะมีห้องสำรองไว้อีก 1
ห้องสำหรับเด็กที่ทำโปรเจคหรือทำงานในเวลาไม่เสร็จให้สามารถมา ใช้ได้
ในส่วนโปรแกรมที่ใช้ อ.ณัธพัชร์ บอกว่าใช้โปรแกรมมายา ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ในวงการนิยมที่สุด
และก็มีโปรแกรมพื้นฐาน อื่นๆ
และเนื่องจากเทคโนโลยีมีการขยับเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ทางอาจารย์จะคอยวางแผนระบบว่าในปีนี้เทรนด์ของ เทคโนโลยีจะไปอย่างไร
ทางแอดมินของที่นี่จึงมีการอัพเกรดโปรแกรมอยู่ตลอด
จะไม่มีเวอร์ชั่นเก่าตกค้างอยู่เลย
ด้วยความเป็นสาขาใหม่
การผลิตบัณฑิตออกมาก็ต้องดูความต้องการของตลาดเป็นหลักด้วย อ.สุธีร์ เล่าว่า
สำหรับที่นี่จะมี การนัดคุยกับผู้ประกอบการทุกเทอม
เพื่อให้รู้ความต้องการด้านความสามารถของเด็กว่าแค่ไหน ขณะนี้มีแนวโน้มว่าต้อง
การเพิ่มสูง ในเรื่องศักยภาพ การใช้เครื่องมือ
ความคิดสร้างสรรค์คิดว่าเด็กมีเต็มร้อย แต่ต้องไปเรียนรู้การปรับตัวทำงานกับ
ผู้อื่นเอง เชื่อว่าคุณภาพถึง จบแล้วทำงานได้เลย
แต่ในมุมของนักศึกษาที่ได้เรียนจริงๆ ณธัญ ว่า
เนื้อหาวิชาสอนให้ทำเป็น แต่ถ้าถึงขนาดแอดวานซ์เลยคุณต้องไปเรียนรู้
ทุกสาขาวิชาไม่มีหรอกที่สอนแล้วออกไปเป็นอัจฉริยะเลย ต้องเรียนรู้เพิ่มเองด้วย
ถึงจะเป็นสาขาใหม่
แต่ยุคนี้ความต้องการผู้มีความรู้ด้านการทำแอนิเมชั่นมีสูงมาก
เรียกว่าตลาดกำลังบูม หนุ่มณธัญ เองยังว่า เท่าที่สังเกตดู
แต่ละปีมีคนสมัครเข้ามาค่อนข้างเยอะ อาจจะเป็นส่วนหนึ่งว่าคอมอาร์ตดูเท่ แต่จริงๆ
แล้วเท่จริงๆ
อ.สุธีร์ เผยตัวเลขออกมาว่า เฉพาะสาขานี้ที่
ม.รังสิตเองปีนี้ก็มีเข้ามาถึง 170 คน อ.สุธีร์ ว่า
ก็มีบ้างที่โฉบเข้ามาเรียน ตามแฟชั่น ซึ่งจะมีอยู่แค่ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง อีก 95
เปอร์เซ็นต์เป็นเด็กที่มีความสนใจ ที่ชอบจริงๆ
ส่วนเรื่องงานที่จะมารองรับนั้นไม่ต้องห่วง
เพราะบริษัทเอกชนบางแห่งเองมีการติดต่อเข้ามาเพื่อหา เด็ก เข้าทำงาน
โดยให้ทางอาจารย์เป็นผู้ช่วยเลือกและคัดให้ งานส่วนใหญ่ ก็จะอยู่ในส่วนของบริษัท
โปรดักชัน เฮ้าส์ อาจจะทำด้านโฆษณา หนังสั้น ภาพยนตร์ หน่วยงานที่รองรับตรงนี้อีกก็
สตูดิโอ โทรทัศน์ รุ่นแรกปีที่แล้วก็มีความสนใจ งานแอนิเมชั่น ร้อยละ 60-70 ที่ทำงานด้านนี้มีอยู่ประมาณร้อยละ 50 อ.สุธีร์ เผย
ทำไมคอมอาร์ตบูม เพราะตลาดตอนนี้ยังกว้าง จบมามีงานแน่นอน
คนเลยหันมาเรียน แต่แกนจริงๆ ที่เข้ามาเรียนกันเยอะ คงเป็นความชอบ
อยู่ที่ความตั้งใจของเด็กด้วย ถ้าตั้งใจจบทุกคน ฝีมือฝึกกันได้ เราทำทันเพื่อนได้
อยู่ที่ความตั้งใจ คำพูดจากใจหนุ่มรุ่นแรกของคอมอาร์ต
"ตอนเข้ามาเรียนมั่นใจว่าจบแล้วมีงานทำแน่นอน
เพราะก่อนเข้ามาเรียนเคยทำงานด้านนี้มาก่อน ก็เห็นว่าคนที่เชี่ยวชาญ มีน้อย"
ณธัญ เอ่ย และตอนนี้ ณธัญก็กำลังศึกษาต่อปริญญาโทสาขาการออกแบบที่ ม.รังสิต นี้
และทำงานอิสระ รับงานเวบ ทำแอนิเมชั่นบนเวบ อย่างเช่น แบนเนอร์ ไปด้วย
อีกหนึ่งหนุ่ม ธีระศักดิ์ โพธิ์วิจิตร นักศึกษาชั้นปีที่ 4 (รุ่นที่ 2) ที่ขณะนี้ได้งานเป็นแอนิเมเตอร์
(และทำแล้ว) ที่บริษัทวิทิตาไปแล้ว
เริ่มต้นอยากเรียนด้านนี้ด้วยความที่ติดการ์ตูนและเกมมาตั้งแต่เด็กๆ
อยากให้การ์ตูนกับเกมที่เล่น เป็นอย่างที่เจ้าตัวอยากให้เป็น
เลยสนใจมาเรียนด้านคอมพิวเตอร์อาร์ต
ที่มา
กรุงเทพ ไอที อัจฉรา สาสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น